แผนการสอนภาษาไทย ชั้้น ป.3
สาระสำคัญ
คำทุกคำอาจจะมีรูปสระหรือไม่มีก็ได้
แต่ต้องประกอบด้วยเสียงสระ
ตัวชี้วัด
มฐ.
ท ๔.๑ ป.๓/๑
เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ
จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
๑. บอกชื่อรูปสระ และเสียงสระ (K)
๒.
จำแนกรูปสระ และเสียงสระที่ประสมเป็นคำ (P)
๓.
กระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม (A)
สมรรถนะ
-
ความสามารถในการสื่อสาร
-
มีความสามารถในการคิด
-
มีความสามารถในทักษะชีวิต
ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
การจำแนก การสรุปความรู้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้
มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย
|
สระแบ่งเป็นรูปสระและเสียงสระ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้/กระบวนการเรียนรู้
๑. ขั้นนำ
๑. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
๒. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย
ดังนี้
๏ เสียงสระมีความสำคัญอย่างไร
๓.ให้นักเรียนเล่นทายคำปริศนาโดยครูอ่านคำปริศนาให้ฟัง
เมื่อนักเรียนตอบถูกให้ออกมาเขียนคำนั้นบนกระดานทีละข้อจนครบ ดังนี้
๑)
ดอกไม้อะไร ขึ้นอยู่ในน้ำ
คนซื้อประจำ นำบูชาพระ (บัว)
๒) ฉันคือดอกไม้ ให้บูชาแม่
สีขาวแน่แท้ กราบแม่ขอบคุณ (มะลิ)
๓) ราชินีดอกไม้ ชื่นใจสีสวย
มีหนามคมด้วย ร่ำรวยสีสัน (กุหลาบ)
๔) ฉันคือสถานที่ มีคุณหนูหนู
และเหล่าคุณครู เรียนรู้ร่วมกัน (โรงเรียน)
๕) ลมช่วยพาฉัน พลันเคลื่อนที่ไป
ใบกางทันใด วิ่งในทะเล (เรือใบ)
๒. ขั้นสอน
๔.ให้นักเรียนอ่านออกเสียงคำเหล่านั้นบนกระดาน
สังเกตสระของแต่ละคำ แล้วให้นักเรียนบอกชื่อสระที่ประสมและเสียงสระของคำนั้น ๆ
ดังนี้
คำ
|
สระ
|
เสียงสระ
|
|||
บัว
มะลิ
กุหลาบ
โรงเรียน
เรือใบ
|
- ะ, -
เ -
ใ -
|
ยาว
สั้น, สั้น
สั้น, ยาว
ยาว, ยาว
ยาว, สั้น
|
๕. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเรื่อง สระในภาษาไทย ว่าคำบางคำอาจจะมีรูปสระ
หรือไม่มีก็ได้ แต่ทุกคำจะต้องประกอบไปด้วยเสียงสระ
และครูสนทนาซักถามนักเรียนเพื่อทดสอบความเข้าใจเรื่องสระ โดยใช้คำถาม ดังนี้
๐ สระแบ่งเป็นอะไรบ้าง (รูปสระ, เสียงสระ)
๐ เสียงสระแบ่งเป็นกี่ประเภท (๒ ประเภท คือ เสียงสั้น เสียงยาว)
๐
ให้นักเรียนยกตัวอย่างสระเสียงสั้น ๕ เสียง (อะ, อิ, อึ, อุ, เอะ ฯลฯ)
๐
ให้นักเรียนยกตัวอย่างสระเสียงยาว ๕ เสียง
(อา,
อี, อือ, เอ ฯลฯ)
๐ ให้นักเรียนยกตัวอย่างสระเสียงสั้น
และสระเสียงยาวที่มีเสียงคู่กัน เช่น อะ - อา, อิ-อี, อึ-อือ ฯลฯ
๐ ให้นักเรียนยกตัวอย่างคำที่มีเสียงสระตามที่กำหนดให้ ๓
คำ เช่น อะ - อา (สะอาด) อิ - อี (กินรี) อึ – อือ (ฝึกปรือ)
๐
ให้นักเรียนหาคำที่มีเสียงสระคู่กับคำที่กำหนดให้ ๓ คำ เช่น กระทะ (ดารา) ชก (โชค) ดุ (ดู)
๖. ให้นักเรียนทำกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ โดยเขียนคำจากภาพและบอกรูปสระที่ปรากฏ
๗. ครูชวนสนทนาศึกษาเพิ่มเติม
รูปสระที่เป็นสระเดี่ยว สระประสม สระที่มีเสียงพยัญชนะท้าย
๘. แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น ๓ กลุ่ม
แต่ละกลุ่มคิดและเขียนคำ ดังนี้
กลุ่มที่ ๑
สระเดี่ยวที่ไม่มีตัวสะกด
กลุ่มที่
๒ สระประสมที่ไม่มีตัวสะกด
กลุ่มที่
๓ สระที่มีเสียงพยัญชนะท้าย
ใช้เวลาในการทำกิจกรรม
๑๐ นาที แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอที่หน้าชั้นเรียน
โดยเขียนคำบนกระดานและอ่านออกเสียงให้เพื่อน ๆ อ่านตามจนครบทุกกลุ่ม
๙ ให้นักเรียนจำแนกรูปสระ เสียงสระ ที่ประสมเป็นคำ
คนละ ๑๐ คำ จากรูปสระที่นักเรียนแบ่งกลุ่มตามข้อ ๗
๓.
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนมาอีกครั้ง
การวัดและประเมินผล
ประเด็นที่ประเมิน
|
วิธีการวัด
|
เครื่องมือวัด
|
เกณฑ์การวัด
|
ตัวชี้วัดชั้นปี
มฐ. ท ๔.๑ ป.๓/๑
|
๑) สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
๒)
สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
๓)
ตรวจผลงานของนักเรียน
|
๑)
แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
๒)
แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
|
๑) การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
ผ่านตั้งแต่ ๒ รายการถือว่า ผ่าน
ผ่าน ๑ รายการ
ถือว่า ไม่ผ่าน
๒) การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
คะแนน ๙ -
๑๐
ระดับ ดีมาก
|
ทักษะการคิด
การจำแนก การสรุปความรู้
|
สังเกตและตรวจคำตอบ
|
- แบบสังเกต
- แบบฝึกหัด
|
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ50
|
สื่อการเรียนรู้
ปริศนาคำทาย
แหล่งเรียนรู้
-ห้องเรียน
-ห้องสมุด
สื่อการสอนวิดีโอรูปสระ เสียงสระ
ปริศนาคำทาย
ปริศนาที่เปรียบกับพืช เช่น
อะไรเอ่ย ผักแพง แกงปลาลอย (ผักตำลึง)
อะไรเอ่ย ตัดมาปลูก มีลูกก่อนใบ (บันได)
อะไรเอ่ย ต้นเท่าเทียน ใบเท่าถาด (ใบบัว)
อะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปรกดิน (ตะไคร้)
อะไรเอ่ย ต้นเท่าขา ใบวาเดียว (กล้วย)
ปริศนาเกี่ยวกับภาษา เช่น
อะไรเอ่ย ลิงขึ้นต้นไม้ทำยังไงจึงจะลง (ลบสระอิ)
อะไรเอ่ย จีนทำยังไงจึงจะจน (ลบสระอี)
อะไรเอ่ย ฉิ่งผัดหนู เรือผัดไก่ เอธงอ่าง (ฉันรักเธอ)
อะไรเอ่ย แหวนหับแหวนชนกันที่อากาศ เกิดเป็นสัตว์ประหลาด
ชอบกินหญ้า (วัว)
อะไรเอ่ย ตัดหัวตัดหาง เหลือกลางวาเดียว (กวาง)
อะไรเอ่ย เสือเดินหน้า กระบือตามหลัง เสือดุจังตามหลังกระบือ
(ส.ค.ส.)